เมนู

ในบทเหล่านั้น หลายบทว่า วิวาทาธิกรณํ อุกฺโกเฏนฺโต เทฺว
สมเถ อุกฺโกเฏติ
มีความว่า ย่อมรื้อ คือปฏิเสธค้านสมถะ 2 นี้ คือ
สัมมุขาวินัย 1 เยภุยยสิกา 1.
หลายบทว่า อนุวาทาธิกรณํ อุกฺโกเฏนฺโต จตฺตาโร มีความว่า
ย่อมรื้อสมถะ 4 เหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา.
หลายบทว่า อาปตฺตาธิกรณํ อุกฺโกเฏนฺโต ตโย ได้แก่ ย่อมรื้อ
สมถะ 3 นี้ คือ สัมมุขาวินัย ปฏิญญาตกรณะ ติณวัตถารกะ.
หลายบทว่า กิจฺจาธิกรณํ อุกฺโกเฏนฺโต เอกํ มีความว่า ย่อมรื้อ
สมถะ 1 นี้ คือ สัมมุขาวินัย.

[การรื้อ 12]


บรรดาการรื้อ 12 ในวาระที่ตอบคำถามว่า การรื้อมีเท่าไร ? เป็นอาทิ
การรื้อ 3 ก่อน มีอาทิคือ กรรมที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำ ย่อมได้ในอนุวาทาธิกรณ์
ที่ 2 โดยพิเศษ.
การรื้อสมถะ 3 มีอาทิคือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ยังมิได้ชำระ ย่อมได้ใน
วิวาทาธิกรณ์ที่ต้น.
การรื้อสมถะ 3 มีอาทิคือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ยังมิได้วินิจฉัย ย่อมได้ใน
อาปัตตาธิกรณ์ที่ 3.
การรื้อ 3 มีอาทิคือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ยังมิได้ระงับ ย่อมได้ในกิจจา-
ธิกรณ์ที่ 4.
อีกประการหนึ่ง การรื้อแม้ทั้ง 12 ย่อมได้ในอธิกรณ์แต่ละอย่างแท้.

[อาการ 10 แห่งการรื้อ]


หลายบทว่า ตตฺถชาตกํ อธิกรณํ อุกฺโกเฏติ มีความว่า ในวัดใด
มีอธิกรณ์ เพื่อต้องการบริกขารมีบาตรและจีวรเป็นต้นเกิดขึ้น โดยนัยมีอาทิว่า
บาตรของข้าพเจ้า ภิกษุนี้ถือเอาเสีย, จีวรของข้าพเจ้า ภิกษุนี้ถือเอาเสีย, พวก
ภิกษุเจ้าอาวาสประชุมกันในวัดนั้นเอง ไกล่เกลี่ยพวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกแก่ตน
ให้ยินยอมว่า อย่าเลย ผู้มีอายุ แล้วให้อธิกรณ์ระงับ ด้วยวินิจฉัยนอกบาลี
แท้ ๆ. นี้ชื่อว่าอธิกรณ์เกิดในที่นั้น อธิกรณ์นั้นระงับแล้ว เฉพาะด้วยวินิจฉัย
แม้ใด วินิจฉัยแม้นั้น เป็นสมถะอันหนึ่งแท้. เป็นปาจิตตีย์ แม้แก่ภิกษุผู้รื้อ
อธิกรณ์นี้.
สองบทว่า ตตฺถชาตกํ วูปสนฺตํ มีความว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เจ้าถิ่น ไม่สามารถให้อธิกรณ์นั้นระงับได้ไซร้. ทีนั้น ภิกษุอื่นเป็นพระเถระ
ผู้ทรงวินัยมาถามว่า อาวุโส ทำไมอุโบสถหรือปวารณาในวัดนี้ จึงงดเสีย ?
และเมื่อภิกษุเหล่านั้นเล่าอธิกรณ์นั้นแล้ว จึงวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ด้วยสูตร โดย
ขันธกะและบริวาร ให้ระงับเสีย. อธิกรณ์นี้ ชื่อว่าเกิดในที่นั้นระงับแล้ว.
คงเป็นปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุผู้รื้ออธิกรณ์นั่น.
บทว่า อนฺตรามคฺเค มีความว่า หากว่า ภิกษุผู้เป็นข้าศึกแก่ตน
เหล่านั้นกล่าวว่า เราไม่ยอมตกลงในคำตัดสินของพระเถระนี้ พระเถระนี้
ไม่ฉลาดในวินัย พระเถระทั้งหลาย ผู้ทรงวินัยอยู่ ในบ้านชื่อโน้น เราจักไป
ตัดสินกันที่บ้านนั้น ดั่งนี้ กำลังไปกัน ในระหว่างทางนั่นเอง กำหนดเหตุได้
จึงตกลงกันเสียเอง หรือภิกษุเหล่าอื่น ยังภิกษุเหล่านั้นให้ตกลงกันได้ อธิกรณ์
แม้นี้ เป็นอันระงับแท้. ภิกษุใดรื้ออธิกรณ์ในระหว่างทางที่ระงับอย่างนี้ คง
เป็นปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุนั้น.